เตรียมตัวเข้าม.4

ข้อสอบเข้าม.4

วิทยาศาสตร์>>> http://www.ichat.in.th/kuart/topic-readid58131-page1
คณิตศาสตร์>>> http://www.mindmap4u.com/edu/read-htm-tid-214.html
ภาษาอังกฤษ>>> http://www.mindmap4u.com/edu/read-htm-tid-278.html
ภาษาไทย>>> http://www.mindmap4u.com/edu/read-htm-tid-265.html
สังคมศึกษา>>> http://www.mindmap4u.com/edu/read-htm-tid-271.html


วิธีการเดาข้อสอบ(Choice)

 1) ตัดช้อยส์               เป็นเทคนิคเมื่อโบราณกาลนานมาแล้ว เป็นเทคนิคคลาสสิคที่ใครๆ เค้าทำกัน คือ  ตัดตัวเลือกที่ดูไม่น่าเกี่ยวข้อง หรือ ไม่ใช่แน่ๆ ออกไป เพราะข้อสอบแต่ละข้อก็จะมีบ้างที่น้องๆ สามารถรู้ว่าช้อยส์นี้ไม่ใช่ ดังนั้น ตัดออกไป ถ้าตัดไดถึง 2 ข้อจะดีมาก เพิ่มโอกาสถูกให้เรา 50 - 50% เลยทีเดียว กลับกันหากเราเดาสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ตัดช้อยส์โอกาสถูกจะมีเพียง 25% หรือ 1 ใน 4 เท่านั้น
  
 
   2) ข้อที่ทำไม่ได้ ให้ข้ามไปก่อน
               บางข้อคิดหัวแทบแตกก็ไม่ได้คำตอบ ตัดช้อยส์ก็ไม่ได้ แนะนำให้ข้ามข้อนี้ไปก่อนเลย แล้วค่อยกลับมาทำทีหลังโดยใช้เทคนิคอื่นเข้าช่วย อย่าดันทุรังฝืนทำต่อไป เพราะจะเสียเวลาโดยใช่เหตุ ลองคิดดูว่าฝืนคิดข้อละ 1 นาที 20 ข้อ เท่ากับเราเสียเวลาแบบไม่ได้คำตอบไป 20 นาทีเชียวนะ

   
3) "ไม่มีข้อใดถูก" มักเป็นตัวเลือกหลอก
              ในคำถามที่เน้นการวิเคราะห์และความจำที่ช้อยส์จะยาวเป็นพิเศษ และมักจะมีช้อยส์ "ไม่มีข้อใดถูก"
อยู่ด้วย แนะนำว่าถ้ามีช้อยส์นี้ขึ้นมาให้ตัดออกไปได้เลย เพราะการคิดช้อยส์ให้ผิดยากกว่าคิดช้อยส์ให้ถูกนะคะ ที่สำคัญคือ ถ้าตั้งโจทย์มาแล้วแต่ไม่มีข้อถูกในนั้น นักเรียนก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไร เรียกว่าเป็นช้อยส์ที่เกิดมาเพื่อหลอกโดยเฉพาะ ยกเว้นแต่ว่าอาจารย์คนนั้นเป็นที่ขนานนามกันว่าเดาแนวข้อสอบยาก อะไรก็เกิดขึ้นได้!!
              ส่วนตัวเลือก
"ถูกทุกข้อ"
อันนี้ค่อยมีโอกาสเป็นไปได้ แต่น้องๆ ควรอ่านโจทย์ให้ครบทุกข้อซะก่อน สิ่งที่ต้องดูคือ เนื้อหาในช้อยส์มีความเชื่อมโยงกันหรือไม่ ขัดแย้งกันเองหรือไม่ เป็นต้น
              แต่ถ้าเกิดมีตัวเลือก "ไม่มีข้อใดถูก" กับ "ถูกทุกข้อ" พร้อมกัน ไม่น่าจะมีโอกาสเป็นไปได้ค่ะ สามารถดูช้อยส์ 2 ข้อที่เหลือแล้วเลือกตอบได้เลย

   
4) คำตอบที่แย้งกันเอง มักจะมีข้อใดข้อหนึ่งถูก
              ลองสวมบทบาทคนออกข้อสอบดู เมื่อใส่คำตอบที่ถูกไปแล้ว พอคิดคำตอบที่ผิดขึ้นมาก็มักจะสร้างคำตอบที่ตรงกันเอาไว้ก่อน เรียกว่าเป็นช้อยส์คู่ขนาน เช่น คำตอบที่ลงท้ายว่า "มากขึ้น - ลดลง" เป็นต้น อยู่ที่ว่า 2 ช้อยส์ที่ตรงข้ามกันนั้นเราจะรู้คำตอบมั้ย

   
5) ช้อยส์ที่มีความหมายเหมือนกัน ตัดทิ้งได้เลย
             ตรงกันข้ามกับคำตอบที่แย้งกันอันนั้นให้เก็บไว้และเลือกคำตอบที่ถูกต้อง ส่วนช้อยส์ที่มีเนื้อหาหรือความหมายเหมือนกันให้ตัดทิ้ง เพราะถ้าข้อนึงถูก อีกข้อนึงก็ต้องถูก ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ เช่น
            ข้อใดคือประโยชน์ของวิตามินเอ?
                ก.บำรุงสายตา
                ข.บำรุงกระดูก
                ค.บำรุงฟัน
                ง.ป้องกันหวัด
           อันนี้เป็นตัวอย่างคร่าวๆ ที่อยากให้น้องๆ เห็นภาพ สมมติว่าข้อนี้น้องๆ ไม่รู้คำตอบเลย ก็ลองดูที่ช้อยส์จะเห็นว่า จริงๆ แล้วกระดูกและฟันมันก็คล้ายๆ กัน ถ้าเกิดมันต้องตอบฟัน กระดูกก็จะต้องตอบด้วย เพราะฉะนั้นจะแยกกันไม่ได้ ดังนั้นตัดออกได้เลยทั้งสองช้อยส์ก็จะเหลือข้อ ก) และ ง) ที่เหลือก็ต้องตัดช้อยส์กันต่อไป ถ้าไม่ได้ต้องเดาต่อ

  
6) ทิ้งดิ่ง
           เมื่อลองทุกวิถีทางมาแล้ว เชื่อว่าจะเหลือข้อที่ทำไม่ได้ประมาณ 10% ถ้ามากกว่านี้ต้องสงสัยแล้วล่ะว่าได้อ่านหนังสือมาบ้างมั้ยเนี่ย ฮ่าๆ เอาล่ะ เมื่อข้อที่เหลือไม่สามารถตัดช้อยส์ได้ ก็ให้ทิ้งดิ่ง โดยมีหลักการเลือกข้อที่จะทิ้งดิ่งว่า ต้องเป็นข้อที่มีคำตอบน้อยที่สุด เช่น ข้อสอบ 100 ข้อ เหลือข้อที่ตอบไม่ได้ 12 ข้อ  ข้อ ก) มี 21 ข้อ  ข)มี 14 ข้อ  ค)มี 27 ข้อ  ง) 26 ข้อ จะเห็นได้ว่า ข้อ ข) มีคำตอบน้อยที่สุด เพราะฉะนั้น 12 ข้อที่เหลือให้ทิ้งดิ่ง เทกระจาด ตลาดแตกที่ข้อ ข) ได้เลย


เพิ่มเติม

  - เข้าถึงห้องแล้ว ก่อนทำข้อสอบให้เช็คข้อสอบให้เรียบร้อยว่าครบมั้ย หน้าไหนขาด หรือตัวอักษรเลือนหรือเปล่า เพราะถ้าทำๆ อยู่แล้วเรียกอาจารย์คุมสอบขอเปลี่ยนข้อสอบ นอกจากจะเด่นกลางห้องแล้ว ยังรบกวนสมาธิเพื่อนด้วย เราเองก็เซ็งเหมือนกันนะ
               - ข้อที่ทำไม่ได้ เมื่อข้ามไปแล้วให้ทำสัญลักษณ์ไว้ ไม่อย่างนั้นเวลาเราทำข้อไปอาจลืมตัวไปฝนข้อที่เราข้าม โอ้วพระเจ้าจอร์จสุดท้ายอ่านจบครบ 100 ข้อ แต่คำตอบเราอาจจะได้ 99 โดยที่ไม่รู้ว่าเริ่มผิดตั้งแต่ข้อไหน เจอแบบนี้เข้าไปเสียเวลา เสียใจ เปลืองยางลบด้วย
               - ทำเสร็จแล้ว ตรวจทานให้ดีว่าทำครบทุกข้อหรือยัง เพราะบางทีเผลอทำสัญลักษณ์ไว้ว่าจะกลับมาทำใหม่แล้วลืมทำซะงั้น
               - ตรวจทานคำตอบของตัวเอง หากเจอข้อที่มั่นใจว่าผิดให้แก้ แต่ถ้าข้อไหนที่เจอแล้วรู้สึกแปลกๆ ไม่แน่ใจก็ไม่ต้องแก้ ให้เชื่อเซ้นส์แรกของตัวเองไว้ มีหลายคนแล้วที่เปลี่ยนคำตอบจากถูกไปเป็นผิด
              - โดยรวมของข้อสอบ  ควรจัดการเวลาให้ดี ว่าจะทำกี่นาที ตรวจทานกี่นาที
              - อย่าทำผิดกฎการสอบ เช่น ลอกเพื่อน จดโพย เป็นวิธีที่ไม่ดีมากๆ ถ้าโดนจับได้ขึ้นมาต้องถูกทำโทษหรือถูกตัดคะแนนแน่นอน

 

เทคนิคการอ่าน

1.เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อย ๆ คือเราจะ หยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว
2.จากนั้นให้ปิดหนังสือ ! แล้วลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟัง คือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังด้วยภาษาสำนวนของเราเอง ฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจแล้ว ให้อ่านต่อไปได้
3.หากตอนใดเราอ่านแล้วแต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง
4.หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้วยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไป ถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป
5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตร ต่าง ๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
6. การเรียนด้วยวิธีท่องจำโดยปราศจากความเข้าใจ เรียนไปก็ลืมไป สูญเสียเวลา เปล่าประโยชน์ เสียเงินทอง
7. การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ไม่ชัดเจน คลุมเครือ
8. ดังนั้นจึงขอสรุปเทคนิคง่าย ๆ สั้น ๆ ดังต่อไปนี้
ก.ให้อ่านหนังสือ สลับกับ การอธิบายให้ตัวเองฟัง
ข.ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริง ๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ
อ่านหนังสือด้วยวิธีการนี้จะทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้ทั้งเล่ม ไม่ลืมเลย...


เทคนิคเรียนดี 


ประการซึ่งมีผู้นำไปปฏิบัติแล้วได้ผลดีมีดังนี้
1. สะสม(Gradual) เรียนอย่างค่อยเป็นค่อยไป สะสมวันละนิดไม่ใช่หักโหมก่อนสอบ
2. ทำซํ้า( Repetition) ทบทวน ท่อง และทำแบบฝึกหัดซํ้า ๆ
3. ย้ำรางวัล(Reinforcement) ควรให้รางวัลตัวเองเมื่อ ทำงานสำเร็จในแต่ละครั้งเพื่อให้ขยันขึ้น
4. ขยันคิด(Active Learning) จงใส่ใจคิดตามเสมออย่าฟังหรืออ่านไปเรื่อย ๆ
5. ฟิตปฏิบัติ(Practice) ต้องลงมือปฏิบัติให้เกิดความชำนาญไม่ใช่รู้แต่ทฤษฏีอย่างเดียว การลงมือปฏิบัติจริงจะทำให้จำแม่นยำเกิดการถ่ายโยงความจำระยะสั้นให้เป็นระยะยาว
6. หาทางบังคับตัวเอง (Stimulus Control) โดยอาศัยการจัดสิ่งแวดล้อมเป็นตัวเร่งและกระตุ้นจากหลักการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียน 6 ประการดังกล่าว ถ้าเราปฏิบัติตนให้ถูกวิธี เราจะประสบผลสำเร็จ มีผู้เสนอข้อปฏิบัติตนที่ดีไว้มากมาย

ต่อไปนี้เป็นข้อปฏิบัติตนที่ได้คัดเลือกให้ท่านลองนำไปปฏิบัติดูเพียง 5 ข้อ

ข้อปฏิบัติตนของการเป็นผู้เรียนที่ดี

1. เวลาฟังอาจารย์สอนหรือเวลาอ่าน ต้องคิดตาม ถาม จด ตลอดเวลา ถ้าไม่เข้าใจควรจดคำถามไว้เพื่อคิดค้นคว้าหรือถามผู้รู้ต่อไป
2. หามุมที่ใช้เป็นที่ดูหนังสือหรือทำการบ้านที่จะทำให้มีประสิทธิภาพ
3. จัดเวลาสำหรับทบทวนสิ่งที่เรียนมา หรืออ่านล่วงหน้าสิ่งที่จะเรียนต่อไป และถ้าปฏิบัติตามที่กำหนดได้ควรให้รางวัลตัวเอง เช่น ได้ขนม ได้เล่น
ได้ฟังเพลง ดูทีวี ได้ออกกำลัง เป็นต้น ถ้าทำไม่ได้ตามกำหนดควรหาเวลาชดเชย
4. ท่องหนังสือกับเพื่อน อย่าหวงวิชา แบ่งปันความรู้อธิบายให้กันและกัน อย่าช่วยเหลือเพื่อนในทางที่ผิด เช่น ทุจริตเวลาสอบ หรือให้ลอกงานโดยไม่เข้าใจ
5. ฝึกศึกษาด้วยตนเอง มิใช่ต้องเรียนจากครูเพียงอย่างเดียว การศึกษาด้วยตนเองต้องใช้สมาธิมาก ต้องทำความเข้าใจจดสาระสำคัญต่าง ๆ
ลงในโน้ตย่อ จดสิ่งที่ไม่เข้าใจไว้ค้นคว้าต่อไปขอให้ท่านลองปฏิบัติตาม 5 ข้อนี้ โปรดสำรวจตัวท่านเองทุกสัปดาห์ว่า ท่านยังขาดข้อใดบ้างพยายามปรับปรุงทำให้ได้ ต้องอดทน แม้ว่าจะเป็นนิสัยเดิมก็ตาม ถ้าท่านทำได้รับรองว่าท่านจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในการเรียนคนหนึ่งแน่นอน
หากท่านยังไม่สามารถปฏิบัติตนดังกล่าวได้ ท่านต้องหาสาเหตุอื่น ๆอีกเช่น

ท่านขาดแรงจูงใจในการเรียนหรือไม่
เวลาทำใจไม่จดจ่อ (ขาดสมาธิ) ใช่หรือไม่
อ่านเท่าไรก็ไม่จำ (อ่านไม่เป็น) ใช่หรือไม่
คิดเท่าไรก็ไม่ออก ใช่หรือไม่

ถ้าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นกับตัวท่านแล้วท่านจะต้องหาทางแก้ไขและฝึกฝนตนเองในจุดที่ท่านบกพร่องเช่นในด้านความจำ เป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนคณิตศาสตร์ เราต้องทำความเข้าใจก่อนแล้วจำ
ทำอย่างไรเราจะจำดี
จากการศึกษาของนักจิตวิทยาเกี่ยวกับการจำการลืมของมนุษย์พบว่า คนเรามีอัตราการจำหรือลืมดังนี้
เมื่อเวลาผ่านไป หนึ่งวัน คนเราจะจำเรื่องราวที่ตนอ่านไปได้ประมาณ 50% และลดลงไปอีกครึ่งหนึ่งทุก ๆ 7 วัน จนในที่สุด จะนึกไม่ออกเลยเมื่อผ่านไป 21 วัน ทางแก้การลืมความรู้ก็คือไปทบทวนทันทีที่เราเรียนในแต่ละ วันเพื่อมิให้เกิน 24 ชั่วโมง จากนั้นเราทิ้งช่วงไปทบทวนรวบยอดในวันหยุด เสาร์ อาทิตย์ เพื่อมิให้เกิน 7 วัน ทุกวันหยุดสุดสัปดาห์จะทบทวนสิ่งที่เรียนมาทั้งสัปดาห์ 
เนื่องจากแต่ละวันความรู้จะพอกพูนขึ้นไปเรื่อย ๆ เราควรทำโน้ตย่อและทบทวนจากโน้ตย่อสาระสำคัญ จะช่วยให้เราเสียเวลาทบทวนน้อยลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น